UFA Slot

จดหมายนิรนาม

กระทั่งก่อนจบเกมเพียงนาทีเดียว ทั่วทั้งโลกก็ต้องช็อกเมื่อได้เห็นภาพของซาดอร์

ที่โผล่ขึ้นจากน้ำด้วยใบหน้าที่โชกเลือด ซาดอร์ ที่ไม่ทันระวังโดน วาเลนติน โปรโคปอฟ ผู้เล่นทีมสหภาพโซเวียตชกที่ใบหน้าอย่างจัง จนเป็นแผลแตกที่คิ้วขวาเลือดไหลอาบเต็มแก้ม เลือดหยดนี้ทำให้ผู้ชมส่วนใหญ่ในสนามที่เทใจเชียร์ทีมฮังการีต่างโกรธจัด พยายามกระโดดลงมาที่ขอบสระ พร้อมตะโกนด่าทอและถ่มน้ำลายใส่ผู้เล่นโซเวียต จนผู้ตัดสินต้องสั่งจบการแข่งขันและให้ตำรวจเข้ามาระงับเหตุก่อนที่จะบานปลาย

สุดท้ายแม้สงครามที่บ้านเกิดพวกเขาจะเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ แต่สงครามในสังเวียนกีฬา ฮังการีเป็นผู้ได้รับชัยชนะด้วยสกอร์ 4-0 และหลังจากนั้น ซาดอร์ที่ต้องเย็บบริเวณรอบตาถึง 8 เข็ม พร้อมเพื่อนร่วมทีมก็สามารถกรุยทางจนคว้าเหรียญทองได้สำเร็จ ภาพของ เออร์วิน ซาดอร์ และเหตุการณ์นองเลือดดังกล่าวถูกขนานนามว่า “Blood in the Water” และได้มีการนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์สารคดีในชื่อ “Freedom’s Fury” เพื่อรำลึกการครบรอบ 50 ปี ในปี 2006 ทว่าเหตุการณ์ความรุนแรงดังกล่าวเกิดขึ้นก่อนจะถึงพิธีปิดการแข่งขันเพียงแค่ 2 วัน ในเวลานั้นคณะกรรมการโอลิมปิกสากลและฝ่ายจัดการแข่งขัน ต่างหมดความหวังและไม่สามารถหาทางที่จะกอบกู้ชื่อเสียงของ “มหกรรมกีฬาแห่งมิตรภาพ” นี้ได้เลย จนกระทั่งพวกเขาได้รับจดหมายนิรนามที่เขียนด้วยลายมือจากเด็กชาวจีนวัย 17 ปี จดหมายนิรนาม พิธีปิดโอลิมปิกเกมส์ในยุคแรก ๆ นักกีฬาแต่ละชาติจะเดินขบวนพาเหรดเข้าสู่สนามตามหลังผู้ถือธงของแต่ละชาติ เฉกเช่นเดียวกับช่วงพิธีเปิด หรือบางครั้งไม่มีขบวนนักกีฬาเข้าร่วมเลยก็มี

UFA Slot

ซึ่งใน “เมลเบิร์นเกมส์ 1956” ฝ่ายจัดการแข่งขันยังคงเป็นกังวลว่าจะสามารถมี

การเดินขบวนตามปกติได้หรือไม่ หลังจากมีเหตุความขัดแย้งระหว่างชาติของนักกีฬาในสนาม อย่างไรก็ตาม ไม่กี่วันก่อนพิธีปิดการแข่งขันที่เมลเบิร์น คริกเก็ต กราวด์ คณะกรรมการโอลิมปิกสากลได้รับจดหมายนิรนามฉบับหนึ่ง ที่เสนอให้พวกเขาทำสิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน นั่นก็คือการสนับสนุน “ให้นักกีฬาเดินขบวนอย่างเป็นอิสระในพิธีปิดการแข่งขัน” เพื่อเป็นการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ถึงการไม่แบ่งแยกชาติและดินแดน

และจดหมายฉบับนี้เองที่ได้เปลี่ยนแปลงพิธีปิดโอลิมปิกไปตลอดกาล… จดหมายดังกล่าวเขียนด้วยลายมือ โดยไม่ระบุชื่อและที่อยู่ผู้เขียน ส่งถึง เคนท์ ฮิวส์ ประธานคณะกรรมการจัดงานโอลิมปิกเมลเบิร์น ใจความว่า… “คุณฮิวส์ ฉันเชื่อว่ามีคนแนะนำให้เดินขบวนระหว่างพิธีปิดและคุณบอกว่าไม่สามารถทำได้ ฉันคิดว่ามันสามารถทำได้” “ระหว่างเดินขบวนจะมีเพียงชาติเดียว สงคราม การเมือง และสัญชาติ จะถูกลืมทิ้งไปทั้งหมด จะมีใครที่อยากได้อะไรมากกว่านี้ ถ้าโลกทั้งใบสามารถรวมเป็นชาติเดียวได้” “คุณสามารถทำได้ด้วยวิธีเล็กน้อย นี่คือสิ่งที่ฉันคิด ไม่มีทีมใดไปด้วยกัน และควรจะมีเพื่อนร่วมทีมไม่เกิน 2 คน พวกเขาจะกระจายตัวกันออกไป” “ฉันแน่ใจว่าทุกคน แม้แต่ตัวคุณเองก็เห็นด้วยว่านี่จะเป็นโอกาสที่ดี จะไม่มีใครลืมว่าสิ่งสำคัญในโอลิมปิกเกมส์ไม่ใช่ชัยชนะ แต่เพื่อการมีส่วนร่วมของทุกคน” ฮิวจ์ ชอบความคิดนี้ และได้ตอบรับข้อเสนอแนะเพียงหนึ่งวันก่อนพิธีปิดจะเกิดขึ้น ทำให้พิธีปิดโอลิมปิก เกมส์ 1956 เป็นครั้งแรกที่นักกีฬาแต่ละชาติเดินปะปนกันเข้าสู่สนาม และได้รับการยอมรับจนเป็นธรรมเนียมปฏิบัติเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน รวมถึงใน “โตเกียวเกมส์ 2020

” อย่างไรก็ตามกว่าที่คนทั้งโลกจะรู้ว่าผู้เขียนจดหมายฉบับดังกล่าวคือใคร ก็ต้องรอนานกว่า 30 ปี มหกรรมโอลิมปิกยังคงดำเนินการแข่งขันอย่างต่อเนื่องไปอีก 7 สมัย กระทั่งในปี 1986 บุคคลที่เขียนจดหมายดังกล่าวก็ได้เปิดเผยตัวเองให้สาธารณชนได้รับรู้ เขาผู้นั้นคือ “จอห์น เอียน วิง” หนุ่มชาวออสเตรเลียเชื้อสายจีน ที่ได้เขียนบันทึกตัวอักษรดังกล่าวตอนที่ตัวเองอายุ 17 ปี วิง ขณะนั้นเป็นเด็กหนุ่มที่ชื่นชอบในการเล่นกีฬา

ติดตามบทความข่าวสารอื่น ๆ เพิ่มเติมได้ที่ virdelldrilling.com

Releated